เกษตรอำเภอละงู ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ไม้ผลช่วงฤดูแล้ง

เกษตรอำเภอละงู ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ไม้ผลช่วงฤดูแล้ง

———————————————————————————–

วันที่ 26 มีนาคม 2567

นางสาวมนัสนันท์ นุ่นแก้ว เกษตรอำเภอละงู พร้อมด้วย นางสาวณิชเนตร สระมุณี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนายปิยทัศน์ ทองปาน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ไม้ผลช่วงฤดูแล้ง ณ หมู่ที่ 1 ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยจากการติดตามพบว่า เกษตรกรปลูกทุเรียนพื้นที่ 4 ไร่ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ชะนี พวงมณี และหนามดำ เกษตรกรกล่าวว่าช่วงนี้มีปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช และพบการเข้าทำลายของใบจุดสาหร่าย ซึ่งโรคใบจุดสาหร่ายไม่มีผลกระทบที่รุนแรงต่อการเจริญเติบโตของต้นทุเรียนแต่บดบังเนื้อที่ใบที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำการดูแลพืชช่วงฤดูแล้ง และการป้องกันกำจัดโรค

โรคใบจุดสาหร่ายทุเรียน (algat spot)

เชื้อสาเหตุ สาหร่ายสีเขียว Cephaleuros virescense

ลักษณะอาการ

มักเกิดกับใบแก่ของทุเรียน โดยเกิดจุดเล็กๆนูนขึ้นจากผิวใบเล็กน้อย เป็นแผลกลมสีส้มปนเทากระจายบนผิวด้านบนของใบ ขอบของจุดเหล่านี้ไม่เรียบ และจะขยายใหญ่ขึ้นในสภาพความขึ้นสูงและมีแสงแดดเพียงพอ เมื่อสาหร่ายมีอายุมากขึ้น มีลักษณะฟูเป็นขุยสีสนิมเหล็กมองดูคล้ายกำมะหยี่ ผิวด้านล่างของใบบริเวณจุดนูนนั้นเป็นแผลมีสีเขียวอ่อนจางเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย

การแพร่ระบาด

พบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกทุเรียนที่มีความชื้นสูง ต้นทุเรียนมีทรงพุ่มแน่นทึบ ในสวนที่มีการปลูกทุเรียนหนาแน่น ในสภาพอากาศขึ้นพบการเกิดโรคสูงกว่าในสภาพอากาศแห้ง

การป้องกันกำจัด

1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง

2. พ้นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หลังการตัดแต่งกิ่ง

Leave a Reply

Your email address will not be published.